Categories
New

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

นี้เป็นตัวอย่างแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดส่องผ่านกล้องนิ่วในถุงน้ำดีและมะเร็งลำไส้ตรงในครั้งเดียวกัน
จะสังเกตเห็นว่าแผลเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแผลใหญ่แบบในอดีต
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง คือ
1.แผลเล็ก ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย
2.ฟื้นตัวไว
3.ปวดแผลน้อย สามารถลุกเดินหลังผ่าตัดได้ภายใน 1 วัน
ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีผ่านกล้อง จะทำให้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เพราะผู้ป่วยจะฟื้นตัวไวและกลับมาลุกเดิน ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติได้เร็วที่สุด
แต่ทั้งนี้แล้วนั้นจะต้องอาศัยทักษะในการผ่าตัดของหมอที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีของผู้ป่วย
ผ่าตัดผ่านกล้อง ปรึกษาหมอเจมส์ได้เลยครับ
Categories
New

บรรยายงานประชุมวิชาการ การควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

บรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

บรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

ในวันเสาร์ที่ผ่านมา…หมอเจมส์ได้รับเชิญไปบรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด ให้กับพี่ๆน้องๆพยาบาลห้องผ่าตัดจากโรงพยาบาลทางภาคใต้บ้านเรา ที่โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โดยหวังว่าความรู้ และประสบการณ์ของหมอที่นำมาแชร์ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านและคนไข้ของเราทุกคนครับ
Categories
New

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน?

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน? ในมะเร็งลำไส้ตรง

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน? ในมะเร็งลำไส้ตรง

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน?
ในมะเร็งลำไส้ตรง
 
การฉายแสงจะใช้ในการรักษามะเร็งลำไส้ตรงก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
1.ลดการกลับมาเป็นซ้ำเฉพาะที่ในอุ้งเชิงกราน
2.ลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อให้การผ่าตัดง่ายยิ่งขึ้นและผ่าตัดมะเร็งได้หมดจดมากยิ่งขึ้น
 
ผลข้างเคียงของการฉายแสงนั้น มีดังนี้
1.ผิวหนังบริเวณที่ฉายแสงจะมีลักษณะไหม้ แดงหรือเกิดแผลได้ อาจจะมีอาการแสบร้อนได้บ้าง
2.กรณีมีผ่าตัดบริเวณที่ได้รับการฉายแสง แผลจะหายช้าหรืออาจะไม่ติดได้
 
คนไข้แบบไหนที่หมอจะพิจารณาให้ฉายแสงก่อนผ่าตัด
1.ก้อนมะเร็งใหญ่ หรือลุกลามไปนอกผนังลำไส้
2.มะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดข้างเคียง
หลังจากฉายแสงครบได้ 6-8 สัปดาห์ หมอจะส่งทำMRI เพื่อดูผลการตอบสนองต่อการฉายแสง
และจะพิจารณาทำการผ่าตัดที่ 8-12 สัปดาห์หลังจากการฉายแสงครบ
 
การรักษามะเร็งลำไส้ตรง เป็นอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อน ใช้ความรู้และความเข้าใจมากกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะวิธีการรักษาในช่วง 5 ปีที่่ผ่านมานี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างและเร็วมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น ดังนั้นหมอจะต้องอัพเดทความรู้อยู่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้ตกเทรน และคนไข้เสียประโยชน์
เลือกรักษามะเร็งลำไส้ตรง ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง
อาการ : ถ่ายเจ็บเหมือนมีดบาดก้นทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ บางครั้งมีเลือดสีแดงสดหยดตามหลังถ่าย มักจะเจ็บมากเวลาถ่ายอุจจาระแข็งหรือท้องเสียถ่ายเหลว
ระยะเวลาที่บอกว่าเป็นเรื้อรัง : อาการเป็นมากกว่า 2 เดือน
ตำแหน่งแผลที่เป็น : มักจะเป็นตำแหน่งด้านหลัง(ใกล้กระดูกก้นกบ) หรือด้านหน้า(ใกล้อวัยวะเพศ)
วิธีการรักษา :
1.เลี่ยงภาวะท้องผูกหรือท้องเสียถ่ายเหลว
2.ฉีดBotox เพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว แต่ผลการรักษายังไม่ชัดเจน และต้องกลับมาฉีดซ้ำเนื่องจากมีโอกาสกลับมามีอาการซ้ำได้
3.ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน (Lateral internal sphincterotomy) เป็นวิธีการรักษามาตรฐาน โดยมีผลลัพธ์การรักษาที่น่าพอใจ โอกาสหายของแผล 88-100% แต่โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่องกลั้นอุจจาระไม่ได้หลังผ่าตัด พบประมาณ 8 %
จากประสบการณ์การดูแลรักษาคนไข้ที่เป็นโรคนี้
หลังผ่าตัดคนไข้อาการจะดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด ถ่ายได้คล่อง ไม่เจ็บ ไม่มีเลือดออก แผลหาย
บางคนถึงกับพูดเลยว่าเหมือนได้ชีวิตใหม่ รู้งี้…ไม่น่าทิ้งไว้นานเลย มาผ่าตัดเร็วกว่านี้เสียก็ดี
หมอดีใจทุกครั้งที่คนไข้พอใจกับการรักษาของหมอ ซึ่งแสดงว่าหมอและคนไข้ เดินมาถูกทางในการรักษาโรคแผลปริขอบทวารหนักเรื้อรังแล้วครับ 😊
ถ่ายเจ็บและเลือดหยดตามหลังถาาย อย่าทิ้งไว้…ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้
ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน คือ ฝีคัณฑสูตรที่
1.ผ่านหูรูดตำแหน่งที่สูงลึกเข้าไปในรูก้น
2.ผ่านการผ่าตัดมาแล้วหลายครั้งแต่ยังไม่หายขาด
3.มีการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากเคยรักษาหายไปแล้ว
4.มีสาเหตุจากการติดเชื้อวัณโรค หรือลำไส้อักเสบ เป็นต้น
การรักษาฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน มักจะต้องทำเอกเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อไว้ดูรอยโรคทั้งหมดว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องมีความเข้าใจในตัวโรค การตรวจร่างกาย รวมทั้งการแปลผลเอกเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อนในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีมาก ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของศัลยแพทย์ท่านนั้นๆว่าจะใช้วิธีผ่าตัดไหน ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายขาด และสามารถกลั้นอุจจาระได้ปกติเหมือนเดิม หมอต้องบอกเลยว่าการผ่าตัดฝีคัณฑสูตรแบบซับซ้อน ครั้งเดียวอาจจะไม่จบ อาจต้องมีการผ่าตัดครั้งที่2 หรือครั้งที่3 ได้
ในรูปเป็นตัวอย่างผู้ป่วยที่มาด้วยอาการน้ำเหลืองและหนองไหลออกจากรูแผลข้างก้นมาเป็นเวลา3ปี ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว2ครั้งแต่ยังไม่หาย จึงส่งตัวมารักษากับหมอเจมส์ หมอจึงตัดสินใจทำ MRI และผ่าตัดด้วยเทคนิค Fistulectomy with immediate primary sphincteroplasty(FIPS) คือการผ่าตัดเอาฝีคัณฑสูตรออกทั้งหมด และเย็บซ่อมแซมหูรูดกลับไปเหมือนเดิม คนไข้สามารถกลับบ้านได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น
หลังผ่าตัดที่ 1 เดือน แผลแห้งมากขึ้นไม่มีหนองไหล อีกทั้งยังสามารถกลั้นอุจจาระได้ปกติเหมือนก่อนผ่าตัด
และหลังผ่าตัดที่ 2 เดือน แผลแห้งและปิดสนิท ไม่มีหนองไหล กลั้นอุจจาระได้ปกติไม่มีเล็ดราด
อยากรักษาฝีคัณฑสูตร ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้

ติ่งริดสีดวง

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้ จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดริดสีดวงทวาร

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้ จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดริดสีดวงทวาร
ผลลัพท์ที่ได้คือ
1. ติ่งริดสีดวงที่บวมหายทันที
2. กลับบ้านหลังผ่าตัดได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น
3. ใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่น กิน นั่ง ถ่ายอุจจาระ
ผ่าตัดริดสีดวงน่ากลัวไหม? สามารถกดตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งนี้เลย
อยากรักษาริดสีดวงทวาร ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่

วันเสาร์ที่ผ่านมา…หมอเจมส์มีโอกาสได้ไปสอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความชำนาญและความมั่นใจในการทำหัตถการ จะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้เกิดประโยชน์และช่วยเหลือคนไข้ให้ได้มากที่สุด
หัตถการที่ได้สอน คือ
1. ผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
2. ผ่าตัดแผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง (Lateral internal sphincterotomy)
3. ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรง (Open low anterior resection)
ขอบคุณอาจารย์ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ให้โอกาสในครั้งนี้ และขอบคุณน้องๆทุกคนที่ตั้งใจเรียนกันมากๆครับ 👍
Categories
New

มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้

ถ่ายเป็นเลือด

มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้ แล้วกลายเป็นก้อนมะเร็งโดยสามารถขยายตัวใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดลำไส้อุดตัน

คนไข้ภาพนี้มีอาการปวดท้อง และถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นน้ำเหลว และถ่ายไม่ออก จึงตัดสินใจเข้ามารับการส่องกล้อง…
มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้ แล้วกลายเป็นก้อนมะเร็งโดยสามารถขยายตัวใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดลำไส้อุดตัน หรือขยายกินลึกลงไปในผนังลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือดและทางเดินน้ำเหลือง จนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ระยะลุกลามเฉพาะที่ หรือแย่ที่สุดกลายเป็นระยะแพร่กระจายได้เลย
การตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือการเข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้โดนการส่องกล้อง ถ้าเจอติ่งเนื้อก็สามารถตัดผ่านการส่องกล้องได้เลย
แต่ถ้ารอจนมีอาการ เช่น ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายลำเล็กลง ลีบลง แล้วค่อยเข้ามาส่องกล้อง ตอนนั้นก้อนมะเร็งอาจจะไม่สามารถผ่าตัดผ่านการส่องกล้องได้ ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดใหญ่โดยการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกไปแทน
ใครกันบ้างที่เข้าข่ายการควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ กดเข้าไปอ่านตามลิ้งนี้ได้เลยครับ https://www.facebook.com/100095484215627/posts/120136304512510/?mibextid=cr9u03
Categories
New

โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

ถ่ายเป็นเลือด

โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

มื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา…
หมอเจมส์ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมฝึกผ่าตัดส่องกล้องโรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาให้กับคนไข้ในภาคใต้บ้านเรา ที่ได้จัดขึ้นในงานประชุม colochula ครบรอบ 25ปี ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
“โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง”
ผู้ป่วยมักมีอาการเช่น เช่น ไอ จามแล้วมีปัสสาวะเล็ด ลำไส้ปลิ้นออกมาทางก้น เบ่งถ่ายลำบาก เป็นต้น
ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะไม่ใช่โรคมะเร็งก็ตาม
Categories
New

ถ่ายเป็นเลือด กับ 5 สาเหตุที่พบได้บ่อย

ถ่ายเป็นเลือด

ถ่ายเป็นเลือด กับ 5 สาเหตุที่พบได้บ่อย

ถ่ายเป็นเลือด กับ 5 สาเหตุที่พบได้บ่อย

  1. เลือดออกจากกระเปาะลำไส้ใหญ่ (Diverticular bleeding)

กลไกการเกิดของกระเปาะลำไส้ใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เมื่อมีภาวะกระเปาะลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว จะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออก หรือเกิดการอักเสบได้

  1. ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid bleeding)

ลักษณะเฉพาะคือ อุจจาระออกมาก่อนหน้าสีจะปกติ แต่จะมีเลือดหยดตามหลังถ่ายเสร็จ และส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการปวด ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร เช่น ลิ่มเลือดอุดตันของริดสีดวงทวาร เป็นต้น

  1. แผลปริขอบทวารหนักเฉียบพลัน (Acute anal fissure)

ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ ถ่ายอุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรบาดก้น และมีเลือดหยดตาม หลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จ

  1. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal cancer)

ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ เลือดจะปนเป็นเนื้อเดียวกันกับอุจจาระ หรือถ่ายออกมาเป็นมูกเลือด อาจจะพบร่วมกับลักษณะการขับถ่ายที่ผิดปกติไป เช่น ถ่ายอุจจาระบ่อยมากขึ้น หรือน้อยลงในแต่ละวันเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง เท่าเม็ดกระสุน ลำเท่านิ้วก้อย จากเดิมเคยถ่ายได้เป็นลำเท่านิ้วโป้ง หรือถ่ายเหลว ถ่ายไม่สุด ถ้ามีภาวะใดดังที่กล่าวข้างต้น ต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

  1. ภาวะลำไส้อักเสบ (Colitis)

ลักษณะเฉพาะของภาวะนี้คือ มักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย การอักเสบอาจจะเกิดจากภาวะการขาดเลือดบางส่วนของลำไส้ มีการติดเชื้อ หรือการอับเสบของลำไส้ที่มีสาเหตุเฉพาะ

สาเหตุที่น่ากังวลมากที่สุดคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ลองมาดูกันเลยว่าคนไข้แบบไหน หรืออาการแบบไหนที่เข้าข่ายความเสี่ยงของโรคนี้ ที่จะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง

ถ้าท่านมีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้เข้ารับการส่องกล้องตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ทันที

  1. ภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ
  2. ถ่ายเป็นเลือดสด
  3. ถ่ายลำเล็กลง เรียวลง ถ่ายเป็นะเม็ดกระสุน ท้องผูก หรือถ่ายเหลวเรื้อรัง

แต่ถ้าหากท่าน มีอายุมากกว่า 45 ปี แนะนำให้เข้ามาทำนัดเพื่อทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้อง

หรือถ้ามีคนในครอบครัว หรือญาติเป็นมะเร็งลำไส้แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่อายุ 40 ปี หรือที่ 10 ปี ก่อนอายุของคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ในครอบครัว เช่น คุณแม่เป็นมะเร็งลำไส้ที่อายุ 42 ปี แนะนำให้ตัวท่านเข้ามารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ที่อายุ 32 ปี (42 – 10 = 32 ปี) เป็นต้น