Categories
New

ถ่ายแล้วเจ็บ เป็นอะไรได้บ้าง?

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

ถ่ายแล้วเจ็บ เป็นอะไรได้บ้าง? หมอเจมส์มีคำตอบ

ถ่ายแล้วเจ็บ เป็นอะไรได้บ้าง?
หมอเจมส์มีคำตอบ
เวลาผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาหมอเจมส์ ด้วยอาการถ่ายแล้วเจ็บก้น 3 ภาวะที่หมอมักจะเจอได้บ่อย คือ
1.ริดสีดวงทวารมีลิ่มเลือดอุดตัน เหมือนในภาพที่แสดง เกิดขึ้นได้ทั้งริดสีดวงทวารภายนอกและภายใน
•วิธีรักษา คือ กรีดระบายลิ่มเลือดเหล่านั้นออก หรือตัดริดสีดวงทวารหนักออกไปเลยครับ
2.แผลปริขอบทวารหนักแบบเฉียบพลัน
อาการที่มาแสดงคือ ถ่ายก้อนแข็งแล้วบาดปากรูทวารหนัก เจ็บเหมือนมีใครเอามีดมากรีดรูทวารกันเลยทีเดียว มักจะพบร่วมกับถ่ายเป็นเลือดด้วย และถ้าทิ้งไว้นานจะกลายเป็นแผลปริขอบทงารหนักเรื้อรัง พร้อมกับแผลที่ปากทวารหนักไม่หายได้
•วิธีรักษา คือ กินยาระบายเพื่อให้ถ่ายนิ่ม กินยาแก้ปวด และหลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก ถ้าเป็นเรื้อรังแล้วต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหูรูดทวารหนักบางส่วน
3.ฝีคัณฑสูตร หรือฝีในหรือข้างรูทวารหนัก
มักจะมาด้วยมีน้ำซึมๆติดที่กางเกงชั้นใน เป็นหนองบ้างหรือน้ำใสๆบ้าง ที่แย่เลยผู้ป่วยอาจจะมาหาหมอด้วยภาวะที่กลายเป็นฝีข้างรูทวารหนักแล้ว โดยมีไข้ บางคนถึงกับนั่งไม่ได้กันเลยครับ
•วิธีรักษา คือ กรณีเป็นฝีแล้วอาจจะต้องกรีดระบายหนองและกินยาฆ่าเชื้อ และตัวฝีคัณฑสูตรต้องเข้ารับการผ่าตัดออกในท้ายที่สุดครับ
ถ่ายแล้วเจ็บยังมีอีกหลายสาเหตุ แต่ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยครับ
Categories
New

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

แผลผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดถุงน้ำดี+มะเร็งลำไส้ตรง(ในครั้งเดียวกัน)

นี้เป็นตัวอย่างแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดส่องผ่านกล้องนิ่วในถุงน้ำดีและมะเร็งลำไส้ตรงในครั้งเดียวกัน
จะสังเกตเห็นว่าแผลเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแผลใหญ่แบบในอดีต
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง คือ
1.แผลเล็ก ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย
2.ฟื้นตัวไว
3.ปวดแผลน้อย สามารถลุกเดินหลังผ่าตัดได้ภายใน 1 วัน
ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีผ่านกล้อง จะทำให้ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และภาวะแทรกซ้อนมีแนวโน้มที่จะน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เพราะผู้ป่วยจะฟื้นตัวไวและกลับมาลุกเดิน ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติได้เร็วที่สุด
แต่ทั้งนี้แล้วนั้นจะต้องอาศัยทักษะในการผ่าตัดของหมอที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีของผู้ป่วย
ผ่าตัดผ่านกล้อง ปรึกษาหมอเจมส์ได้เลยครับ
Categories
New

บรรยายงานประชุมวิชาการ การควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

บรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

บรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด

ในวันเสาร์ที่ผ่านมา…หมอเจมส์ได้รับเชิญไปบรรยาย เรื่องการควบคุมแผลผ่าตัดติดเชื้อในห้องผ่าตัด ให้กับพี่ๆน้องๆพยาบาลห้องผ่าตัดจากโรงพยาบาลทางภาคใต้บ้านเรา ที่โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โดยหวังว่าความรู้ และประสบการณ์ของหมอที่นำมาแชร์ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านและคนไข้ของเราทุกคนครับ
Categories
New

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน?

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน? ในมะเร็งลำไส้ตรง

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน? ในมะเร็งลำไส้ตรง

การฉายแสง…จำเป็นแค่ไหน?
ในมะเร็งลำไส้ตรง
 
การฉายแสงจะใช้ในการรักษามะเร็งลำไส้ตรงก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
1.ลดการกลับมาเป็นซ้ำเฉพาะที่ในอุ้งเชิงกราน
2.ลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อให้การผ่าตัดง่ายยิ่งขึ้นและผ่าตัดมะเร็งได้หมดจดมากยิ่งขึ้น
 
ผลข้างเคียงของการฉายแสงนั้น มีดังนี้
1.ผิวหนังบริเวณที่ฉายแสงจะมีลักษณะไหม้ แดงหรือเกิดแผลได้ อาจจะมีอาการแสบร้อนได้บ้าง
2.กรณีมีผ่าตัดบริเวณที่ได้รับการฉายแสง แผลจะหายช้าหรืออาจะไม่ติดได้
 
คนไข้แบบไหนที่หมอจะพิจารณาให้ฉายแสงก่อนผ่าตัด
1.ก้อนมะเร็งใหญ่ หรือลุกลามไปนอกผนังลำไส้
2.มะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดข้างเคียง
หลังจากฉายแสงครบได้ 6-8 สัปดาห์ หมอจะส่งทำMRI เพื่อดูผลการตอบสนองต่อการฉายแสง
และจะพิจารณาทำการผ่าตัดที่ 8-12 สัปดาห์หลังจากการฉายแสงครบ
 
การรักษามะเร็งลำไส้ตรง เป็นอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อน ใช้ความรู้และความเข้าใจมากกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะวิธีการรักษาในช่วง 5 ปีที่่ผ่านมานี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างและเร็วมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น ดังนั้นหมอจะต้องอัพเดทความรู้อยู่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้ตกเทรน และคนไข้เสียประโยชน์
เลือกรักษามะเร็งลำไส้ตรง ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง

แผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง
อาการ : ถ่ายเจ็บเหมือนมีดบาดก้นทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ บางครั้งมีเลือดสีแดงสดหยดตามหลังถ่าย มักจะเจ็บมากเวลาถ่ายอุจจาระแข็งหรือท้องเสียถ่ายเหลว
ระยะเวลาที่บอกว่าเป็นเรื้อรัง : อาการเป็นมากกว่า 2 เดือน
ตำแหน่งแผลที่เป็น : มักจะเป็นตำแหน่งด้านหลัง(ใกล้กระดูกก้นกบ) หรือด้านหน้า(ใกล้อวัยวะเพศ)
วิธีการรักษา :
1.เลี่ยงภาวะท้องผูกหรือท้องเสียถ่ายเหลว
2.ฉีดBotox เพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัว แต่ผลการรักษายังไม่ชัดเจน และต้องกลับมาฉีดซ้ำเนื่องจากมีโอกาสกลับมามีอาการซ้ำได้
3.ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน (Lateral internal sphincterotomy) เป็นวิธีการรักษามาตรฐาน โดยมีผลลัพธ์การรักษาที่น่าพอใจ โอกาสหายของแผล 88-100% แต่โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื่องกลั้นอุจจาระไม่ได้หลังผ่าตัด พบประมาณ 8 %
จากประสบการณ์การดูแลรักษาคนไข้ที่เป็นโรคนี้
หลังผ่าตัดคนไข้อาการจะดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด ถ่ายได้คล่อง ไม่เจ็บ ไม่มีเลือดออก แผลหาย
บางคนถึงกับพูดเลยว่าเหมือนได้ชีวิตใหม่ รู้งี้…ไม่น่าทิ้งไว้นานเลย มาผ่าตัดเร็วกว่านี้เสียก็ดี
หมอดีใจทุกครั้งที่คนไข้พอใจกับการรักษาของหมอ ซึ่งแสดงว่าหมอและคนไข้ เดินมาถูกทางในการรักษาโรคแผลปริขอบทวารหนักเรื้อรังแล้วครับ 😊
ถ่ายเจ็บและเลือดหยดตามหลังถาาย อย่าทิ้งไว้…ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้

ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน รักษายาก…แต่รักษาให้หายได้
ฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน คือ ฝีคัณฑสูตรที่
1.ผ่านหูรูดตำแหน่งที่สูงลึกเข้าไปในรูก้น
2.ผ่านการผ่าตัดมาแล้วหลายครั้งแต่ยังไม่หายขาด
3.มีการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากเคยรักษาหายไปแล้ว
4.มีสาเหตุจากการติดเชื้อวัณโรค หรือลำไส้อักเสบ เป็นต้น
การรักษาฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน มักจะต้องทำเอกเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อไว้ดูรอยโรคทั้งหมดว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาจะต้องมีความเข้าใจในตัวโรค การตรวจร่างกาย รวมทั้งการแปลผลเอกเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อนในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีมาก ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของศัลยแพทย์ท่านนั้นๆว่าจะใช้วิธีผ่าตัดไหน ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน โดยมุ่งหวังให้ผู้ป่วยหายขาด และสามารถกลั้นอุจจาระได้ปกติเหมือนเดิม หมอต้องบอกเลยว่าการผ่าตัดฝีคัณฑสูตรแบบซับซ้อน ครั้งเดียวอาจจะไม่จบ อาจต้องมีการผ่าตัดครั้งที่2 หรือครั้งที่3 ได้
ในรูปเป็นตัวอย่างผู้ป่วยที่มาด้วยอาการน้ำเหลืองและหนองไหลออกจากรูแผลข้างก้นมาเป็นเวลา3ปี ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว2ครั้งแต่ยังไม่หาย จึงส่งตัวมารักษากับหมอเจมส์ หมอจึงตัดสินใจทำ MRI และผ่าตัดด้วยเทคนิค Fistulectomy with immediate primary sphincteroplasty(FIPS) คือการผ่าตัดเอาฝีคัณฑสูตรออกทั้งหมด และเย็บซ่อมแซมหูรูดกลับไปเหมือนเดิม คนไข้สามารถกลับบ้านได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น
หลังผ่าตัดที่ 1 เดือน แผลแห้งมากขึ้นไม่มีหนองไหล อีกทั้งยังสามารถกลั้นอุจจาระได้ปกติเหมือนก่อนผ่าตัด
และหลังผ่าตัดที่ 2 เดือน แผลแห้งและปิดสนิท ไม่มีหนองไหล กลั้นอุจจาระได้ปกติไม่มีเล็ดราด
อยากรักษาฝีคัณฑสูตร ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้

ติ่งริดสีดวง

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้ จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดริดสีดวงทวาร

เคสผู้ป่วย มาโรงพยาบาลด้วยก้อนโผล่ที่ก้น 1 อาทิตย์ ปวดบวมมาก จนนั่งไม่ได้ จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดริดสีดวงทวาร
ผลลัพท์ที่ได้คือ
1. ติ่งริดสีดวงที่บวมหายทันที
2. กลับบ้านหลังผ่าตัดได้ในเช้าวันรุ่งขึ้น
3. ใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่น กิน นั่ง ถ่ายอุจจาระ
ผ่าตัดริดสีดวงน่ากลัวไหม? สามารถกดตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งนี้เลย
อยากรักษาริดสีดวงทวาร ปรึกษาหมอเจมส์แพทย์เฉพาะทาง
Categories
New

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม

สอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรม ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่

วันเสาร์ที่ผ่านมา…หมอเจมส์มีโอกาสได้ไปสอนแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง ฝึกฝนผ่าตัดในอาจารย์ใหญ่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความชำนาญและความมั่นใจในการทำหัตถการ จะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้เกิดประโยชน์และช่วยเหลือคนไข้ให้ได้มากที่สุด
หัตถการที่ได้สอน คือ
1. ผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
2. ผ่าตัดแผลปริขอบทวารหนักเรื้อรัง (Lateral internal sphincterotomy)
3. ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรง (Open low anterior resection)
ขอบคุณอาจารย์ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่ให้โอกาสในครั้งนี้ และขอบคุณน้องๆทุกคนที่ตั้งใจเรียนกันมากๆครับ 👍
Categories
New

มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้

ถ่ายเป็นเลือด

มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้ แล้วกลายเป็นก้อนมะเร็งโดยสามารถขยายตัวใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดลำไส้อุดตัน

คนไข้ภาพนี้มีอาการปวดท้อง และถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นน้ำเหลว และถ่ายไม่ออก จึงตัดสินใจเข้ามารับการส่องกล้อง…
มะเร็งลำไส้โดยส่วนใหญ่ จะพัฒนาจากติ่งเนื้อในลำไส้ แล้วกลายเป็นก้อนมะเร็งโดยสามารถขยายตัวใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดลำไส้อุดตัน หรือขยายกินลึกลงไปในผนังลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือดและทางเดินน้ำเหลือง จนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ระยะลุกลามเฉพาะที่ หรือแย่ที่สุดกลายเป็นระยะแพร่กระจายได้เลย
การตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือการเข้ามาตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้โดนการส่องกล้อง ถ้าเจอติ่งเนื้อก็สามารถตัดผ่านการส่องกล้องได้เลย
แต่ถ้ารอจนมีอาการ เช่น ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายลำเล็กลง ลีบลง แล้วค่อยเข้ามาส่องกล้อง ตอนนั้นก้อนมะเร็งอาจจะไม่สามารถผ่าตัดผ่านการส่องกล้องได้ ซึ่งจะต้องทำการผ่าตัดใหญ่โดยการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกไปแทน
ใครกันบ้างที่เข้าข่ายการควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ กดเข้าไปอ่านตามลิ้งนี้ได้เลยครับ https://www.facebook.com/100095484215627/posts/120136304512510/?mibextid=cr9u03
Categories
New

โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

ถ่ายเป็นเลือด

โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง

มื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา…
หมอเจมส์ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมฝึกผ่าตัดส่องกล้องโรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาให้กับคนไข้ในภาคใต้บ้านเรา ที่ได้จัดขึ้นในงานประชุม colochula ครบรอบ 25ปี ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
“โรคกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง”
ผู้ป่วยมักมีอาการเช่น เช่น ไอ จามแล้วมีปัสสาวะเล็ด ลำไส้ปลิ้นออกมาทางก้น เบ่งถ่ายลำบาก เป็นต้น
ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะไม่ใช่โรคมะเร็งก็ตาม